TH
TH EN
x

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งกับโควิด 19

สถานการณ์ในตอนนี้ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ แต่ด้วยความที่โรคมะเร็งและวิธีการรักษา ล้วนมีโอกาสที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง การรับมือกับโควิด 19 อย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย
ที่มาของข้อมูล : bumrungrad.com , wattanosothcancerhospital.com


ทำไมผู้ป่วยมะเร็งถึงมีความเสี่ยงในการติดโควิด 19 มากกว่า

โควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่แต่อาจก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่ามาก ปกติแล้วเมื่อร่างกายของเราถูกเชื้อไวรัสโจมตี ระบบภูมิคุ้มกันจะรับหน้าที่กำจัดไวรัส และในกรณีของเชื้อไวรัสโควิด19 ก็เช่นกัน ดังนั้นหากภูมิคุ้มกันของเราดี ไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็จะลดลง หรือต่อให้ติดโรคแล้วก็จะมีอาการไม่รุนแรง เพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบหมู่ กักตัวแยกจากผู้อื่น และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

แต่ในกรณีของผู้ป่วยมะเร็งนั้น ทั้งตัวโรคเองและวิธีการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการฉายรังสี เคมีบำบัด การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก หรือยาบางชนิด ล้วนมีโอกาสที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จึงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัวเองต่างๆ อย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ เพราะหากติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ขึ้นมาก็มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป


เป็นมะเร็งแต่ติดโควิด 19 ควรจะรักษาโรคไหนก่อน

โดยรักษาโควิด 19 ก่อน แม้จะมีอาการมากกว่าคนปกติ แต่หากรีบรักษาก็มีโอกาสรักษาให้หายได้ พอเชื้อหายขาดหมด จึงค่อยกลับมารักษามะเร็งตามกระบวนการต่อไป เพราะมะเร็งไม่หยุดโต ถ้าไม่รักษาก็มีโอกาสเสียชีวิตได้ ดังนั้นเป็นมะเร็งก็ต้องรักษา ติดโควิด 19 ก็ต้องรักษา


ผู้ป่วยมะเร็งถ้ามีนัดพบแพทย์ ต้องทำอย่างไรดี

ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อขอคำปรึกษา จากนั้นแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรนัดผู้ป่วยเข้ามาที่โรงพยาบาลหรือไม่ โดยคำนึงถึงอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ถ้าหากผู้ป่วยที่ยังฉายแสงหรือรับยาเคมีบำบัดไม่ครบคอร์ส ก็จำเป็นต้องมารับการรักษาต่อเนื่อง มิฉะนั้นอาจก่อผลเสียมากกว่าผลดี แต่สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงติดตามอาการ แพทย์ก็อาจเลื่อนนัดออกไปก่อน หรือใช้ช่องทางสื่อสารอื่น ๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล

ในกรณีที่ยาของผู้ป่วยหมด และแพทย์สามารถจ่ายยาต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องตรวจร่างกายเพิ่ม แพทย์อาจจะให้ญาติของผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงมารับยาแทน หรือส่งยาทางไปรษณีย์ (หากทำได้) หรือหากแพทย์จำเป็นต้องตรวจผู้ป่วยก่อน ก็อาจนัดผู้ป่วยเข้ามาและจ่ายยาให้มากกว่าปกติ เพื่อลดความถี่ที่ผู้ป่วยจะต้องมาโรงพยาบาล


ผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่?

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งภูมิคุ้มกันจะค่อนข้างต่ำกว่าคนทั่วไป หากติดเชื้อโควิด 19 ย่อมมีความเสี่ยงที่อาการจะรุนแรงและร่างกายต่อสู้กับเชื้อโควิด 19 ได้น้อยลง จึงมีความสำคัญมากที่ผู้ป่วยมะเร็งทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด เพื่อลดโอกาสการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ป่วยมะเร็งมีหลากหลายกลุ่ม ดังนั้นเพื่อให้การฉีดวัคซีนโควิด19 มีประสิทธิภาพกับผู้ป่วยมะเร็งควรเข้ารับการฉีดให้เหมาะสม ได้แก่

ผู้ป่วยมะเร็งที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ทันที ได้แก่
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่ผ่านการวินิจฉัย แต่ยังไม่ได้รับการรักษา
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการรักษา อาทิ รับประทานยาและพบแพทย์ทุกเดือน
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาจนหายแล้วและไม่มีประวัติแพ้วัคซีน
ผู้ป่วยมะเร็งที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด ได้แก่
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาฉีด อาทิ ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้า ยาฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่รับการผ่าตัด ควรฉีดวัคซีนก่อนหรือหลังการผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ โดยเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่ปลูกถ่ายไขกระดูกจะต้องเว้นระยะให้ร่างกายฟื้นตัวและไม่มีภาวะแทรกซ้อนปรากฏหลังการรักษาประมาณ 3 เดือน
  • ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันที่ได้รับยาเคมีบำบัดทำลายเซลล์ ให้ฉีดวัคซีนเมื่อเม็ดเลือดขาวมีระดับปกติ

ผู้ป่วยมะเร็งควรเตรียมตัวก่อน-หลังอย่างไรในการฉีดวัคซีนโควิด 19
การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6 – 7 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 500 – 1,000 ซีซี
  • เลี่ยงการดื่มชา กาแฟ
  • ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด
  • ถ้ามีอาการไข้ไม่สบายให้เลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน
  • ไม่ควรกินยาที่ไม่ใช่ยารักษาโรคประจำตัวหรืออาหารเสริมก่อนรับวัคซีน
การดูแลหลังฉีดวัคซีนโควิด 19
  • หากมีไข้หรือปวดศีรษะรับประทานยาแก้ปวดได้
  • หากมีผื่นลมพิษ ไข้สูงมาก หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง เจ็บหน้าอกให้พบแพทย์ทันที
  • ฉีดวัคซีนให้ครบตามนัดหมายทั้ง 2 เข็ม
  • หากมีคำถามหรือข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวทันที

ผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด 19
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษาหรือให้เคมีบำบัด ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทุกครั้งที่ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยคุณภาพดีได้มาตรฐานและพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้ตลอดเวลา
  • ไม่ควรอยู่ในสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็นและต้องรักษาระยะห่างกับคนรอบข้าง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน อ้วน หัวใจ ตับ ไตเรื้อรัง ปอดและทางเดินหายใจ และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหากติดเชื้อโควิด 19 อาจร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะพิจารณาและให้ยาเฉพาะโรคเป็นรายบุคคลไป
  • ผู้ป่วยมะเร็งปอดต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอดและร่างกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น เว้นแต่แพทย์นัดการติดตามอาการ ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

โควิดก็เสี่ยง มะเร็งก็เป็นได้ มีประกันคุ้มครองสบายใจยิ่งกว่า

โควิด19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และติดเชื้อได้ง่าย หากคุณมีโรคประจำตัว หากติดโควิด 19 มักจะพบความเสี่ยงที่อาการจะเพิ่มความรุนแรงกว่าคนทั่วไป ซึ่งการทำประกันไว้เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมความมั่นใจในการดูแลสุขภาพ เพิ่มความคุ้มครอง 2 ชั้น ด้วยประกันสุขภาพที่ครอบคลุม อย่างฟินชัวรันส์ คุ้มครองทุกโรคร้าย โรคฮิต และโควิด 19 และประกันมะเร็ง Cancer Can Go ที่ให้ความคุ้มครอง ทั้งค่ารักษาพยาบาล และเงินคุ้มครองก้อนใหญ่ หากตรวจพบมะเร็งระยะลุกลาม และยังพร้อมคืนเป็นเงินก้อนให้คุณยามเกษียณ ให้เบี้ยประกันคุณไม่ต้องเสียเปล่า ในยุคที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง มีประกันคุ้มครองสบายใจยิ่งกว่า

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันมะเร็ง Cancer Can Go ได้ที่ : https://www.kwilife.com/cancer
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟินชัวรันส์ ได้ที่ : https://www.kwilife.com/health
**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์

KWI ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่