Checklist ลดหย่อนภาษี 2563 เช็คให้ดี ก่อนยื่นภาษี 2564

Checklist ลดหย่อนภาษี 2563 เช็คให้ดี ก่อนยื่นภาษี 2564

อย่างที่ทราบกันดีว่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำทุกปี จะต้องยื่นเรื่องเสียภาษี ซึ่งในแต่ละปีสิทธิพิเศษเพื่อลดหย่อนภาษีแตกต่างกันออกไปและต้องอัพเดตใหม่เป็นประจำทุกปี ว่าสามารถใช้สิทธิลดหย่อนอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะได้วางแผนและใช้สิทธิให้ตรงกับความต้องการ วันนี้เราจะมาอัพเดตรายการสิทธิลดหย่อนภาษีปี 2563 ก่อนยื่นภาษีปี 2564 มาดูกันครับว่ามีรายการอะไรที่เราสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ที่มาของข้อมูล : gobear.com, lumpsum.in.th, minimore.com, krungsri.com, aommoney.com


อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563

ปัจจุบันใช้วิธีเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งอัตราภาษีในปี 2563 เป็นดังนี้

  • รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
  • รายได้ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)
  • รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)
  • รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)
  • รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)
  • รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)
  • รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)
  • รายได้ 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท สำหรับผู้ที่มีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการ
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี
  • ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท ซึ่งคนที่ 2 เป็นต้นไป จะเพิ่มอีก 30,000 บาท สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่สำหรับบุตรบุญธรรม หรือในกรณีที่มีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ตนเองและพ่อแม่คู่สมรส คนละ 30,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากประกัน
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากประกัน
  • ประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท (เนื่องจากปีนี้มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคมสูงสุดจาก 750 บาทต่อเดือน มาเป็น 150 บาทต่อเดือน ในช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. 63 และปรับมาเป็น 300 บาทต่อเดือน ในช่วงเดือน ก.ย. - พ.ย. 63 จึงทำให้สิทธิประโยชน์สูงสุดที่ได้รับนั้นลดลงกว่าปีก่อนๆ)
  • เบี้ยประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากเงินออมและการลงทุน
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากเงินออมและการลงทุน
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูเอกชน ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถสะสมเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดไว้กับนายจ้าง
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค
  • เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต (ธุรกิจที่มีเครื่องรูดบัตร) เฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
  • โครงการช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนที่ติดค้างจากปีก่อน
  • โครงการบ้านหลังแรกปี 59 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท

รวมข้อควรรู้ ก่อนยื่นภาษี
รวมข้อควรรู้ ก่อนยื่นภาษี

ค่าลดหย่อนคืออะไร?

ค่าลดหย่อน คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เสียภาษีน้อยลง

มีวิธีคำนวณภาษีอย่างไร?

รายได้ (ต่อปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

ใครต้องยื่นภาษีบ้าง?

บุคคลที่มีรายได้ทุกคน ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งแม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องยื่นแบบภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. เพื่อแสดงรายได้สะสมในช่วงปีที่ผ่านมา

ต้องยื่นภาษีอย่างไร?

แบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 คนที่มีเงินเดือนและรายได้อื่น ๆ ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ส่วนคนมีเงินเดือน โบนัส ค่าครองชีพให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 โดยสามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 แต่หากยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นผ่าน Rd smart tax application ทางโทรศัพท์มือถือ จะได้รับสิทธิ์ขยายเวลาการยื่นแบบฯ และชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน คือถึงวันที่ 8 เมษายน 2564

ลดหย่อนภาษีแบบจัดเต็ม การันตีผลตอบแทนรวมสุดปัง เลือกประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม
ลดหย่อนภาษีแบบจัดเต็ม การันตีผลตอบแทนรวมสุดปัง เลือกประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม

เมื่อได้ข้อมูลอัปเดตการยื่นภาษีไปแล้ว หวังว่าจะทำให้ทุกคนเข้าใจในเรื่องของภาษี หลักการคำนวณ และการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราวางแผนและใช้สิทธิได้อย่างคุ้มค่า ถ้าอยากได้สิทธิลดหย่อนภาษีแบบจัดเต็ม การันตีผลตอบแทนรวมสุดปัง ประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม ตอบโจทย์แน่นอนครับ เพราะได้สิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท ทุกปีที่ชำระเบี้ย การันตีผลตอบแทนรวมสูงถึง 555% ออมสั้นแค่ 5 ปี คุ้มครองยาวถึง 10 ปี คุ้มแบบนี้ หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันออมทรัพย์ ออมคุ้มคุ้ม คลิกเลย! : https://bit.ly/38GB61y

*โปรดศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนซื้อประกันภัยทุกครั้ง

KWI use cookies to ensure that we give you the best experience on our website. By using our website you agree to our use of cookies in accordance with our privacy policy. Read more