สำหรับมนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีทุกปี โดยกฎหมายให้เราสามารถนำค่าใช้จ่ายบางรายการไปยื่นหักลดหย่อนภาษีก่อนได้ ซึ่งจะช่วยให้จ่ายภาษีน้อยลง หรือได้เงินคืนภาษีกลับมาด้วย ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ลองมาเช็คดูข้อมูลลดหย่อนภาษี ปี 2564 กันได้เลย
-ประกันสังคม : ลดหย่อนได้ตามจริง โดยในปี 2564 ผู้ประกันตน มาตรา 33 สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 5,100 บาท มีการปรับลดเงินสมทบประกันสังคมในเดือนมกราคม-มีนาคม และมิถุนายน-พฤศจิกายน 2564 เพื่อช่วยเหลือในสถานการณ์โควิด 19 ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 2,139 บาท ขณะที่ผู้ประกันตน มาตรา 40 จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 700-3,000 บาท ตามที่จ่ายจริง
-ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากเพื่อสงเคราะห์ชีวิต ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
-ประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หักตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
-ประกันชีวิตบำนาญ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
-กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
-กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
-กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
-กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
-กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท (ซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563)
-เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
-เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
-เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
-ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
-ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562 สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่ราคาบ้านจะต้องไม่เกิน 5,000,000 บาท
-สินค้าในกลุ่มชอปช่วยชาติ นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
-สินค้าโอทอป นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
-สินค้าในหมวดหมู่การศึกษาและการกีฬา สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
-สินค้าหมวดหมู่หนังสือ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
-รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) และจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
-หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ
-รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
-เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี
-ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
-ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th
-ยื่นผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax แต่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อน
หลังจากเช็กสิทธิลดหย่อนภาษี เตรียมเอกสารให้ครบแล้วไปยื่นที่กรมสรรพากร หรือยื่นภาษีออนไลน์ได้เลย ค่าลดหย่อนภาษีเหล่านี้จะช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลงได้นั่นเอง จะเห็นได้ว่าการมีประกันออมทรัพย์ก็สามารถช่วยให้ลดหย่อนภาษีได้ เช่น ออมคุ้มคุ้ม Plus ออมก็ง่าย ลดหย่อนภาษีก็ได้ ออมสั้น 5 ปี คุ้มครองยาว 10 ปี ลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท ทุกปีที่ชำระเบี้ย ลดเบี้ยประกัน 10% โดยไม่ลดทุนประกัน คุ้มสุดผลตอบแทนสูงสุดอันดับ 1 ในตลาด จากการจัดอันดับของเวปไซต์ iTAX ปี 2564 คุ้มมาก รีบซื้อได้เลย
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ออมคุ้มคุ้ม Plus ได้ที่ : https://www.kwilife.com/endowment
**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์